home ประวัติความเป็นมา

พ.ศ. 2547

     กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้ง ศูนย์ฝึกอาชีพสตรีจังหวัดลำพูน จากนางสายพิณ นายวิชาญ พหลโยธิน เป็นที่ดินจำนวน 9 ไร่ 3 งาน 24.8/10 ตารางวา พร้อมอาคารฝึกอาชีพ 1 หลัง อาคาร โรงอาหาร    1 หลัง ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสงค์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง คุณหญิงสุดสาคร    ตู้จินดา ได้ร่วมบริจาคสร้างอาคารเรือนนอน อีกจำนวน 1 หลัง รวมเป็นเงิน 27 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวสตรีที่มีฐานะยากจนประสบปัญหาความเดือดร้อน และเยาวสตรีที่ได้รับผล  กระทบเนื่องจากบิดามารดา เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ซึ่งขาดผู้อุปการะในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคเหนือ  ให้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพ

     เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพแห่งนี้ ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ และได้รับพระราชทานชื่อศูนย์ฝึกอาชีพสตรีจังหวัดลำพูน จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็น “ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ” เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547


พ.ศ. 2558

     การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงตามพระราชบัญญติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2558 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์มีการปรับโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ โดยศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี ทั้งหมด 8 แห่ง เดิมสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้โอนมาสังกัด กรมกิจการสตรีและสถานบันครอบครัว และศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน”